ทริปนี้จะแบกจักรยานขึ้นรถไฟแล้วไปปั่นเที่ยวกัน ปั่นไม่ไกลมากนัก เราเน้นเที่ยวมากกว่าระยะทาง ถนนเรียบ วิวสวยงาม รถน้อย ปั่นสบายๆความเร็วประมาณ 20 ก.ม./ช.ม. จักรยานทุกชนิดไปได้ จำเป็นต้องพึ่งรถไฟ ขบวนรถเร็ว เพราะมีตู้สัมภาระ
แผ่นที่เส้นทาง
https://goo.gl/maps/quJtZ
สองวันระยะทางรวม 86 ก.ม. ปั่นเรื่อยๆไม่ต้องรีบ สบายๆ (ถ้ารวมปั่นวนเล่นแถวๆเขื่อนด้วยก็จะได้ประมาณ 120 ก.ม.)
วันแรก
6.15 น. พร้อมกันที่หัวลำโพง (หรือดักขึ้นรถไฟสถานีไหนก็ได้ที่รถจอด เช่น บางซื่อ, รังสิต) ซื้อตั๋วสำหรับคนก่อนคนละ 60 บาท แล้วเข็นจักรยานไปจุดรับสัมภาระ คันละ 90 บาท แล้วไปรอยกจักรยานขึ้นตู้สัมภาระ (อ่านคำแนะนำในการขนจักรยานขึ้นรถไฟ)
6.40 น. ออกเดินทางด้วยรถเร็วขบวน 135 ออกจากหัวลำโพง 6.40 น. ถึงชุมทางแก่งคอย 9.22 น. (ออกตรงเวลาแต่ถึงช้ากว่ากำหนดนิดหน่อย) เตรียมตัวก่อนถึงที่หมายไปอยู่ใกล้ๆตู้สัมภาระ เพราะรถไฟจอดแป๊บเดียว ยกลงมาแล้วก็ตรวจเช็คจักรยานให้เรียบร้อยพร้อมปั่น มีอะไรหล่นหายหรือเปล่า
9.45 น. ชุมทางแก่งคอย - ทุ่งทานตะวัน ท่าคล้อ 11 ก.ม. ปั่นออกมาตรงๆจากหน้าสถานีรถไฟข้ามสะพาน เลี้ยวขวาแล้วปั่นตรงตามถนนหลักเรื่อยๆ(ผ่านทางรถไฟสายที่ไปเขื่อนป่าสักเป็นระยะๆ) เนื่องจากปีนี้ท่าคล้อยังไม่เริ่มปลูกทานตะวันเลยมีแต่ทุ่งข้าวโพดให้ดู เลี้ยวซ้ายหน้าวัดท่าศาลา (อย่าไปตามป้ายที่ชี้ไปเขื่อนป่าสัก เพราะป้ายพาไปทางอ.วังม่วง ขากลับของเรา) แล้วก็ตรงไปเรื่อยๆ
12.00 น. ทุ่งทานตะวัน - เขื่อนป่าสัก 21 ก.ม. มุ่งขึ้นเหนือตามแผนที่ไป สองข้างทางจะเห็นทุ่งทานตะวันเป็นระยะๆ ทั้งฝั่งซ้ายและขวา ต้นใหญ่ๆ เลี้ยวขวาที่สี่แยกเข้าถนนหลักไปเขื่อน พอใกล้เขื่อนป่าสักจะเห็น 2 ทุ่งที่มีการออกร้านขายของด้านหน้า และเก็บค่าเข้าไปถ่ายรูป 10 บาท
13.30 น. กางเต๊นท์นอนเขื่อนป่าสัก 1 คืน มาถึงเขื่อนปั๊บให้รีบไปจองจุดกางเต๊นท์ทันดี เพราะช่วงหนาวๆคนเยอะมาก กางเต๊นท์ติดกันเรียงยาวตลอดแนว มาช้าก็อดได้ที่ริมน้ำ ต้องกางบนสนามหญ้าเอา จุดกางเต๊นท์หาไม่ยาก มีป้ายบอก อยู่ที่เขื่อนไม่ต้องกลัวอดตาย เพราะมีของขาย คืนวันเสาร์มีตลาดนัดถนนคนเดิน ขายถึง 4 ทุ่ม ด้านหน้าเขื่อนก็มีร้านอาหารเพียบ Lotus Express ก็มี เพราะฉะนั้นไม่ต้องพกอาหารมาให้หนัก
16.00 น. กางเต๊นท์เสร็จปลดสัมภาระให้รถเบาๆแล้วปั่นเล่นบนสันเขื่อนกัน ข้ามไปไหว้พระสีขาวบนดอกบัวชมพูองค์ใหญ่ที่อีกฝั่งหนึ่งของเขื่อน สันเขื่อนยาวประมาณ 5 ก.ม. ปกติบนสันเขื่อนเขาจะไม่ให้รถยนต์วิ่ง(เพราะเขาจะให้นักท่องเที่ยวนั่งรถบริการของเขื่อน) แต่จักรยานปั่นเข้าไปได้เลย ถ้ามาปั่นฝั่งด้านหน้าเขื่อนเลี้ยวไปด้านขวามือผ่านวัด(หมาดุ)ไปสุดทาง จะมีจุดที่เห็นรถไฟวิ่งผ่านน้ำ ถ้ามาตรงช่วงตารางเวลารถไฟนะ
วันที่ 2
7.00 น. ตื่นมาปั่นเล่นรอบเขื่อนอีกรอบ คราวนี้ด้านล่างของเขื่อน ออกมาที่สี่แยกโลตัสเลี้ยวซ้ายผ่านโลตัสไปจนเห็นป้ายสถานีรถไฟแก่งเสือเต้น มีถนนลูกรังหลังสถานีกลับไปที่เขื่อน หาอะไรกิน ก่อนจะเก็บของเตรียวตัวออกเดินทาง ผ่านสันเขื่อนไปออกประตูอีกฝั่งของเขื่อน
9.00 น. เขื่อนป่าสัก - ทุ่งทานตะวัน วังม่วง 10 ก.ม. ปั่นมุ่งหน้าอ.วังม่วง จะเห็นทุ่งทานตะวันใหญ่ๆ สวยๆ 3 ทุ่งทางขวามือ (มีออกร้าน เก็บค่าเข้าชม 5 บาท) ทุ่งแรกวิวสวยสุด อีก 2 ทุ่งจะอยู่หน้าโรงงานโออิชิ
10.00 น. ทุ่งทานตะวัน วังม่วง - อุโมงค์ต้นไม้ 8 ก.ม. ช่วงอุโมงค์ต้นไม้เนินยาวมาก มีแต่ขาขึ้น มีขาลงให้ดีใจเล็กน้อย เดี๋ยวก็ขึ้นอีก ไม่ไหวก็ใช้เข็นเอา เวลาเราเหลือเฟือ มีกลุ่มจักรยานหลายกลุ่มมาทดสอบแรงที่นี่ ส่วนใหญ่จะเป็นเสือหมอบปั่นขึ้นกันฉิว ตรงไหนวิวสวยก็จอดพักถ่ายรูปก่อนได้ รถยนต์ไม่เยอะแต่เร็วพอสมควร ชิดซ้ายตลอด
10.30 น. อุโมงค์ต้นไม้ - น้ำตกเจ็ดสาวน้อย 12 ก.ม. พอเริ่มเห็นรีสอร์ทสวยๆแสดงว่าหมดเนินแล้ว เป็นทางลงล้วนๆ สบายเลย มีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายไปน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
12.00 น. น้ำตกเจ็ดสาวน้อย - สถานีรถไฟมวกเหล็ก 10 ก.ม. จนถึงน้ำตกเจ็ดสาวน้อย พักกินอะไรที่นี่ แช่น้ำสัก 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ให้เข็นจักรยานลงไปที่น้ำตกได้ แต่ระวังด้วย เพราะหนามเล็กๆเยอะ ยางรั่วมาแล้ว -_-' จากน้ำตกไปสถานีรถไฟมวกเหล็กปั่นไม่ถึงชั่วโมง ไม่ต้องรีบ
14.48 น. กลับด้วยรถเร็วขบวน 136 ออกจากมวกเหล็ก 14.48 ถึงหัวลำโพง 18.40 น. รถมาจะช้าประมาณครึ่งชั่วโมง แต่ต้องเช็กก่อนว่าตู้สัมภาระเต็มมาตั้งแต่ต้นทางหรือเปล่า ถ้าเต็มเราก็เอาจักรยานขึ้นไม่ได้ ต้องรอเที่ยวถัดไป 17.11 น. (แต่ถ้าเป็นรถพับขึ้นได้เลย) ก็จะทำให้เราถึงหัวลำโพง 4 ทุ่ม (ใครจะลงที่ไหนลงได้ทุกสถานีที่รถไฟจอด)
สิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วย
- ตรวจเช็คจักรยานให้พร้อม, ยางในสำรอง(จำเป็นอย่างยิ่ง ใครเข็นลงข้างทางไปถ่ายรูป โอกาสยางรั่วสูง), ที่งัดยาง, ชุดปะยาง, ไฟหน้า, ไฟท้าย (เผื่อปั่นเที่ยวจนมืด)
- หมวก, ผ้าบั๊ฟ, ปลอกแขนกันร้อน, เสื้อกันหนาว (บนเขื่อนกลางคืนหนาวใช้ได้)
- เต๊นท์(ไม่เอาไปก็ได้ มีให้เช่าที่เขื่อนป่าสัก), อุปกรณ์แคมปิ้งต่างๆ, แบตสำรองโทรศัพท์
- ชุดใส่นอน,ชุดใส่วันที่ 2,รองเท้าแตะ
- สบู่,ยาสีฟัน,แปรงสีฟัน
- เงิน(ค่ารถไฟคน+จักรยานไปกลับประมาณ 280 บาท,ค่าอาหาร,ค่ากางเต๊นท์)
- ไม่มีการเก็บเงินกองกลาง,ไม่มีรถเซอร์วิส,ไม่มีประกันอุบัติเหตุ
ติดต่อสอบถาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานลพบุรี รับผิดชอบพื้นที่ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี โทร. 0-3677-0096 - 7
แผ่นที่เส้นทาง
https://goo.gl/maps/quJtZ
สองวันระยะทางรวม 86 ก.ม. ปั่นเรื่อยๆไม่ต้องรีบ สบายๆ (ถ้ารวมปั่นวนเล่นแถวๆเขื่อนด้วยก็จะได้ประมาณ 120 ก.ม.)
วันแรก
6.15 น. พร้อมกันที่หัวลำโพง (หรือดักขึ้นรถไฟสถานีไหนก็ได้ที่รถจอด เช่น บางซื่อ, รังสิต) ซื้อตั๋วสำหรับคนก่อนคนละ 60 บาท แล้วเข็นจักรยานไปจุดรับสัมภาระ คันละ 90 บาท แล้วไปรอยกจักรยานขึ้นตู้สัมภาระ (อ่านคำแนะนำในการขนจักรยานขึ้นรถไฟ)
6.40 น. ออกเดินทางด้วยรถเร็วขบวน 135 ออกจากหัวลำโพง 6.40 น. ถึงชุมทางแก่งคอย 9.22 น. (ออกตรงเวลาแต่ถึงช้ากว่ากำหนดนิดหน่อย) เตรียมตัวก่อนถึงที่หมายไปอยู่ใกล้ๆตู้สัมภาระ เพราะรถไฟจอดแป๊บเดียว ยกลงมาแล้วก็ตรวจเช็คจักรยานให้เรียบร้อยพร้อมปั่น มีอะไรหล่นหายหรือเปล่า
9.45 น. ชุมทางแก่งคอย - ทุ่งทานตะวัน ท่าคล้อ 11 ก.ม. ปั่นออกมาตรงๆจากหน้าสถานีรถไฟข้ามสะพาน เลี้ยวขวาแล้วปั่นตรงตามถนนหลักเรื่อยๆ(ผ่านทางรถไฟสายที่ไปเขื่อนป่าสักเป็นระยะๆ) เนื่องจากปีนี้ท่าคล้อยังไม่เริ่มปลูกทานตะวันเลยมีแต่ทุ่งข้าวโพดให้ดู เลี้ยวซ้ายหน้าวัดท่าศาลา (อย่าไปตามป้ายที่ชี้ไปเขื่อนป่าสัก เพราะป้ายพาไปทางอ.วังม่วง ขากลับของเรา) แล้วก็ตรงไปเรื่อยๆ
นี่คือทุ่งปอเทือง เพิ่งเคยเห็นเหมือนกัน สวยดี ดอกเล็กๆสีเหลือ ต้นเหมือนเอากิ่งไม้ไปปักลงดิน เขาบอกว่าเป็นพืชปรับปรุงดิน
11.00 น. ทุ่งทานตะวันท่าคล้อ - ทุ่งทานตะวัน หินซ้อน 11 ก.ม. เลยโรงงานที่เป็นโดม(หน้าโรงงานมีร้านอาหารตามสั่ง ถ้าหิวก็หาอะไรกินก่อน)ตรงไปนิดนึงจะเห็นทุ่งทานตะวันอยู่ทางขวามือ กว้างใหญ่มาก มีรถไฟแล่นผ่านด้านหลังด้วย (ททท.มีจัดทริปนั่งรถไฟชมด้วย ขบวนเดียวกับที่เรามานี่แหละ แต่นั่งรถไฟตลอดทริป ไม่ต้องปั่นจักรยาน เริ่ม 14 ธ.ค.)
ทุ่งทานตะวันนี้ไม่มีคนเฝ้า เข้าไปชมได้ฟรี^^
13.30 น. กางเต๊นท์นอนเขื่อนป่าสัก 1 คืน มาถึงเขื่อนปั๊บให้รีบไปจองจุดกางเต๊นท์ทันดี เพราะช่วงหนาวๆคนเยอะมาก กางเต๊นท์ติดกันเรียงยาวตลอดแนว มาช้าก็อดได้ที่ริมน้ำ ต้องกางบนสนามหญ้าเอา จุดกางเต๊นท์หาไม่ยาก มีป้ายบอก อยู่ที่เขื่อนไม่ต้องกลัวอดตาย เพราะมีของขาย คืนวันเสาร์มีตลาดนัดถนนคนเดิน ขายถึง 4 ทุ่ม ด้านหน้าเขื่อนก็มีร้านอาหารเพียบ Lotus Express ก็มี เพราะฉะนั้นไม่ต้องพกอาหารมาให้หนัก
16.00 น. กางเต๊นท์เสร็จปลดสัมภาระให้รถเบาๆแล้วปั่นเล่นบนสันเขื่อนกัน ข้ามไปไหว้พระสีขาวบนดอกบัวชมพูองค์ใหญ่ที่อีกฝั่งหนึ่งของเขื่อน สันเขื่อนยาวประมาณ 5 ก.ม. ปกติบนสันเขื่อนเขาจะไม่ให้รถยนต์วิ่ง(เพราะเขาจะให้นักท่องเที่ยวนั่งรถบริการของเขื่อน) แต่จักรยานปั่นเข้าไปได้เลย ถ้ามาปั่นฝั่งด้านหน้าเขื่อนเลี้ยวไปด้านขวามือผ่านวัด(หมาดุ)ไปสุดทาง จะมีจุดที่เห็นรถไฟวิ่งผ่านน้ำ ถ้ามาตรงช่วงตารางเวลารถไฟนะ
วันที่ 2
7.00 น. ตื่นมาปั่นเล่นรอบเขื่อนอีกรอบ คราวนี้ด้านล่างของเขื่อน ออกมาที่สี่แยกโลตัสเลี้ยวซ้ายผ่านโลตัสไปจนเห็นป้ายสถานีรถไฟแก่งเสือเต้น มีถนนลูกรังหลังสถานีกลับไปที่เขื่อน หาอะไรกิน ก่อนจะเก็บของเตรียวตัวออกเดินทาง ผ่านสันเขื่อนไปออกประตูอีกฝั่งของเขื่อน
9.00 น. เขื่อนป่าสัก - ทุ่งทานตะวัน วังม่วง 10 ก.ม. ปั่นมุ่งหน้าอ.วังม่วง จะเห็นทุ่งทานตะวันใหญ่ๆ สวยๆ 3 ทุ่งทางขวามือ (มีออกร้าน เก็บค่าเข้าชม 5 บาท) ทุ่งแรกวิวสวยสุด อีก 2 ทุ่งจะอยู่หน้าโรงงานโออิชิ
10.00 น. ทุ่งทานตะวัน วังม่วง - อุโมงค์ต้นไม้ 8 ก.ม. ช่วงอุโมงค์ต้นไม้เนินยาวมาก มีแต่ขาขึ้น มีขาลงให้ดีใจเล็กน้อย เดี๋ยวก็ขึ้นอีก ไม่ไหวก็ใช้เข็นเอา เวลาเราเหลือเฟือ มีกลุ่มจักรยานหลายกลุ่มมาทดสอบแรงที่นี่ ส่วนใหญ่จะเป็นเสือหมอบปั่นขึ้นกันฉิว ตรงไหนวิวสวยก็จอดพักถ่ายรูปก่อนได้ รถยนต์ไม่เยอะแต่เร็วพอสมควร ชิดซ้ายตลอด
10.30 น. อุโมงค์ต้นไม้ - น้ำตกเจ็ดสาวน้อย 12 ก.ม. พอเริ่มเห็นรีสอร์ทสวยๆแสดงว่าหมดเนินแล้ว เป็นทางลงล้วนๆ สบายเลย มีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายไปน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
12.00 น. น้ำตกเจ็ดสาวน้อย - สถานีรถไฟมวกเหล็ก 10 ก.ม. จนถึงน้ำตกเจ็ดสาวน้อย พักกินอะไรที่นี่ แช่น้ำสัก 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ให้เข็นจักรยานลงไปที่น้ำตกได้ แต่ระวังด้วย เพราะหนามเล็กๆเยอะ ยางรั่วมาแล้ว -_-' จากน้ำตกไปสถานีรถไฟมวกเหล็กปั่นไม่ถึงชั่วโมง ไม่ต้องรีบ
14.48 น. กลับด้วยรถเร็วขบวน 136 ออกจากมวกเหล็ก 14.48 ถึงหัวลำโพง 18.40 น. รถมาจะช้าประมาณครึ่งชั่วโมง แต่ต้องเช็กก่อนว่าตู้สัมภาระเต็มมาตั้งแต่ต้นทางหรือเปล่า ถ้าเต็มเราก็เอาจักรยานขึ้นไม่ได้ ต้องรอเที่ยวถัดไป 17.11 น. (แต่ถ้าเป็นรถพับขึ้นได้เลย) ก็จะทำให้เราถึงหัวลำโพง 4 ทุ่ม (ใครจะลงที่ไหนลงได้ทุกสถานีที่รถไฟจอด)
สิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วย
- ตรวจเช็คจักรยานให้พร้อม, ยางในสำรอง(จำเป็นอย่างยิ่ง ใครเข็นลงข้างทางไปถ่ายรูป โอกาสยางรั่วสูง), ที่งัดยาง, ชุดปะยาง, ไฟหน้า, ไฟท้าย (เผื่อปั่นเที่ยวจนมืด)
- หมวก, ผ้าบั๊ฟ, ปลอกแขนกันร้อน, เสื้อกันหนาว (บนเขื่อนกลางคืนหนาวใช้ได้)
- เต๊นท์(ไม่เอาไปก็ได้ มีให้เช่าที่เขื่อนป่าสัก), อุปกรณ์แคมปิ้งต่างๆ, แบตสำรองโทรศัพท์
- ชุดใส่นอน,ชุดใส่วันที่ 2,รองเท้าแตะ
- สบู่,ยาสีฟัน,แปรงสีฟัน
- เงิน(ค่ารถไฟคน+จักรยานไปกลับประมาณ 280 บาท,ค่าอาหาร,ค่ากางเต๊นท์)
- ไม่มีการเก็บเงินกองกลาง,ไม่มีรถเซอร์วิส,ไม่มีประกันอุบัติเหตุ
ติดต่อสอบถาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานลพบุรี รับผิดชอบพื้นที่ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี โทร. 0-3677-0096 - 7